การเรียนหลักสูตร
Wellness & Healthcare Business Opportunity Program for Executives (WHB) รุ่นที่ 5
วันที่ 21 ก.พ.2568
ณ ห้องมณฑาทิพย์ 1 ชั้น 1 โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น. หลักสูตร Wellness & Healthcare Business Opportunity Program for Executives (WHB) รุ่นที่ 5 จัดให้มีการนำเสนอธุรกิจของผู้เรียน “WHB Business Connect ครั้งที่ 1” มีผู้เรียนหลักสูตร WHB รุ่นที่ 5 นำเสนอธุรกิจ จำนวน 7 ท่าน ดังนี้ (1) นายแพทย์กิติกรณ์ ชลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปาโล พระประแดง (2) ดร.จิรากร ทิศายุกตะ Managing Director, Wisteria & Co Limited Partnership (3) คุณชุติมา ศิริเชาวนิชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอิร์ธโทนส์ โปรเจค จำกัด (4) ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ผู้จัดการโครงการศูนย์ Wellness&Healthcare มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ (5) คุณปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ President of Huawei Cloud Thailand, Huawei Technologies Thailand Company Limited (6) คุณปรินดา ตั้งพิรุฬห์ธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชียร์ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และ (7) ทันตแพทย์หญิงผริตา ผาทอง Deputy Managing Director บริษัท ธรรมิตา จํากัด โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ เป็นผู้ดำเนินการนำเสนอ

เวลา 15.30 น. หลักสูตร WHB รุ่นที่ 5 ได้จัดให้มีการเสวนาวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในหัวข้อ “Environmental Wellness” โดยได้รับเกียรติจาก คุณนิษฐา ภูษาชีวะ Green Business and Collaboration Manager, SCG Smart Living, ผู้เชี่ยวชาญด้านอาคาร ยั่งยืนและสุขภาวะ วิทยากรอย่างเป็นทางการของสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council) ร่วมกับ Mr. James Duan, Chairman, Coral Holding Co., Ltd. โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ทั้งนี้คุณนิษฐา ภูษาชีวะ ได้กล่าวถึง สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) ว่าในการสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อสุขภาพ ความสุข และการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยหลักในการสร้างสุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (1) คุณภาพอากาศภายในอาคาร (2) การจัดการแสงสว่าง (3) การควบคุมเสียง (4) การเข้าถึงธรรมชาติ (5) การใช้วัสดุที่ยั่งยืน (6) สุขภาพกายและจิตใจ และท่านได้กล่าวถึงประโยชน์ของการสร้างอาคารเพื่อสุขภาวะ ได้แก่ (1) สนับสนุนการเงินอย่างยั่งยืน (Sustainable Finance) (2) ใช้วัสดุและโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดสำคัญ ดังนี้ (1) สิ่งแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้นมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (2) สถานพยาบาลได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม (3) การเลือกของคุณมีผลต่อสุขภาวะของผู้คนรอบตัว
Mr. James Duan ได้กล่าวถึง Coral Holding Co., Ltd. ว่ามีการให้บริการแบบ EaaS (Energy-as-a-Service) โดยมีการนำเสนอโซลูชันครบวงจรในระบบพลังงานไฟฟ้าและสุขภาวะ รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอนเครดิต โดยการบริการจะครอบคลุมตั้งแต่การก่อสร้างอาคาร, การประเมินพลังงานและสุขภาวะ, การจัดซื้อ, การติดตั้ง, ทดสอบสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการข้อมูล การให้บริการหลักของ Coral Life มีดังนี้ (1) การดำเนินงานและก่อสร้างอาคาร (2) การวิเคราะห์การลงทุน (3) การประเมินพลังงานและสุขภาวะ (4) การออกแบบและจัดซื้อผลิตภัณฑ์พลังงาน (5) การทดสอบพลังงานและสิ่งแวดล้อม (6) การจัดการข้อมูลและปรับปรุงต้นทุนการดำเนินงาน อีกทั้ง Coral Life ยังมีความเชี่ยวชาญด้านนำเสนอโซลูชันที่วัดผลได้ ทั้งในด้านประสิทธิภาพพลังงานและคุณภาพอากาศภายในอาคาร (IAQ) รวมทั้งการออกแบบและพัฒนา



ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร คุณนิษฐา ภูษาชีวะ และ Mr. James Duan ณ ห้องมณฑาทิพย์ 1 ชั้น 1 โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ



เวลา 17.00 น. หลักสูตร WHB รุ่นที่ 5 ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาบรรยายหัวข้อ “Lifestyle Intervention & Health Technology for Longevity” ท่านได้กล่าวถึง แนวคิดหลักของความยืนยาวของชีวิต (Longevity) และคุณภาพชีวิต เป้าหมายสำคัญคือการเพิ่ม Health Span ให้นานที่สุด และอยู่อย่างไม่มีคุณภาพชีวิตให้สั้นที่สุด ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาวะ (Determinants of Health) ได้แก่ (1) ปัจเจกบุคคล เช่น กรรมพันธุ์, พฤติกรรมสุขภาพ, ความเชื่อ, จิตวิญญาณ (2) สภาพแวดล้อม เช่น เศษฐกิจ, การศึกษา, ประชากร, ครอบครัว, การอพยพย้ายถิ่น, ค่านิยม/ความเชื่อ, วัฒนธรรม, การเมือง/การปกครอง, สิ่งแวดล้อม, โครงสร้างพื้นฐาน, เทคโนโลยี (3) ระบบบริการสุขภาพ เช่น ความเสมอภาค/ความครอบคลุม, ประเภทและระดับของการบริการ, คุณภาพ/ประสิทธิภาพ, รัฐ/เอกชน และท่านได้กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการมีอายุยืน (Health Tech for Longevity) ได้แก่ (1) การทดสอบทางพันธุกรรม (Genetic Testing) เช่น ตรวจสอบความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่จากการกลายพันธุ์ของยีน BRCA (2) กระบวนการชะลอวัยทางชีวภาพ (Biological Aging Interventions) เช่น การสั้นลงของปลายโครโมโซม (Telomere Attrition), การกำจัดเซลล์เสื่อม (Senescent Cells), การใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อม (Stem Cell Therapy) (3) อาหารและโภชนาการชะลอวัย (Anti-Aging Diets) เช่น การลดแคลอรีลง 20-40% (Caloric Restriction), การอดอาหารเป็นช่วงเวลา (Intermittent Fasting), การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงและคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Ketogenic Diet) (4) สารเสริมอาหาร (Supplements) เช่น TA-65 เป็นยาที่พบในสมุนไพรจีน, หวงฉีมีชื่อเรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอึ้งกี๋ จะช่วยยืดอายุของเทโลเมียร์ได้ และสุดท้ายท่านได้กล่าวถึงการตายดี ได้แก่ (1) ตายเมื่อถึงเวลาอันควร (ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง) (2) การตายที่ไม่มีความทุกทรมานที่มากเกินไป ไม่ยื้อชีวิตที่ไม่มีคุณภาพ (3) มีการเตรียมตัวและวางแผนการดูแลที่ดี ตามที่ผู้ป่วยต้องการ (4) เป็น process ของการดูแลทั้งร่างกาย จิตวิญญาณและสังคม ของผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล (5) ได้อยู่กับคนที่มีความหมาย ในสถานที่ที่เหมาะสม ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ ได้มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ณ ห้องมณฑาทิพย์ 1 ชั้น 1 โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ



เวลา 18.30 น. มีการประชุมคณะกรรมการฝ่าย CSR และการประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจกรรมพิเศษและนันทนาการของผู้เรียน WHB รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 1 นำโดย ประธานและประธานร่วมฝ่าย CSR และประธานและประธานร่วมฝ่ายกิจกรรมพิเศษและนันทนาการ และสมาชิกของฝ่ายมาร่วมประชุมกันอย่างกระตือรือร้นและสร้างสรรค์

