การเรียนหลักสูตร Wellness and Longevity for Entrepreneurs Program (WLE) รุ่นที่ 2 วันที่ 21 กันยายน 2567
Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld  ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

ในวันที่ 21 กันยายน 2567 เวลา 10.00-12.00 น.  หลักสูตร Wellness and Longevity for Entrepreneurs Program (WLE) รุ่นที่ 2 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชพันธุศาสตร์และหัวหน้าศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาบรรยายในหัวข้อ “Genomics, Epigenome and Precision Medicine” ซึ่งท่านได้กล่าวว่า Genomics คือศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าหากลุ่มยีนส์ หรือพันธุกรรมของเซลล์สิ่งมีชีวิต ปัจจุบันการแพทย์ยุคจีโนมิกส์ผู้วิจัยให้ความสนใจศึกษาวิจัยเรื่องการแสดงออกของยีนส์ในการก่อโรคหรือ Epigenome ซึ่งเป็นการศึกษาการทำงานของยีนส์ รวมไปถึงระดับการแสดงออกของยีนส์ โดยขึ้นกับปัจจัยที่อยู่นอกเหนือจากลำดับเบสของยีนส์ เช่น สิ่งแวดล้อม สารที่เป็นผลผลิตจากเซลล์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการ “เปิด” และ “ปิด” การแสดงออกของยีนส์ ปัจจุบันมีการใช้การศึกษาจากข้อมูลจีโนมิกส์เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาแบบแม่นยำ (Precision Medicine) การแพทย์เฉพาะทางจึงเป็นแนวทางใหม่ในการป้องกันและรักษาโรค โดยคำนึงถึงความแปรผันของยีนส์ สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตของแต่ละคน 
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร ณ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld  ถนนพระราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
          เวลา 13.00-15.00 น. ดร.ฉัตรชัย นพวิชัย  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “Innovation Genomics Screening for Metabolic Diseases, Age-Associated Diseases, and NCDs” โดยท่านได้กล่าวถึงตัวอย่างแนวทาง Multi-OMIC สำหรับการตรวจคัดกรองสุขภาพและโรค การทำนาย การตรวจหาตั้งแต่ระยะแรกและการป้องกัน เช่นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจจะส่งผลให้เกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคระบบประสาทเสื่อม ดังนั้น Trimethylamine N-oxide (TMAO) เป็นไบโอมาร์คเกอร์ใหม่สำหรับคัดกรองความเสี่ยงในการเกิด Atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD) การที่มีระดับ TMAO สูงจะสัมพันธ์กับการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือด ผู้ที่มีระดับ TMAO สูงจึงมีความเสี่ยงต่อการเป้นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่า 2.5 เท่า แม้ว่าจะไม่สูบบุหรี่ ไม่มีความดันโลหิตสูง หรือไม่เป็นโรคเบาหวานก็ตาม
          ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ดร.ฉัตรชัย  นพวิชัย  Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
เวลา 15.30-17.30น. รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงรุ่งฤดี ชัยธีรกิจ ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “Gut-Health: Microbiomes, Hormones and Immunity, and Gut-Brain Axis” โดยท่านได้กล่าวถึงจุลชีพในลำไส้ (Gut microbiota) แบคทีเรีย ไวรัส ยีสต์ รา ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหาร ผลิตวิตามิน สารอาหารที่จำเป็นต่อการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค โปรไบโอติก (Postbiotics) เอนไซม์ ช่วยย่อยอาหาร กำจัดสารพิษ ช่วยในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน บรรเทาอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า คุณสมบัติของโปรไบโอติกที่ดีเป็นจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีความปลอดภัยไม่ทำให้เกิดโรคแต่สามารถผลิตสารต่างๆที่ยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์อื่นที่บุกรุกหรือก่อให้เกิดโทษและสารที่สร้างขึ้นสามารถเพิ่มความต้านทานต่อการติดเชื้อในลำไส้ได้ 
ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงรุ่งฤดี ชัยธีรกิจ ณ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
        เวลา 17.3018.00 น. การประชุมคณะกรรมการผู้เรียนหลักสูตร WLE รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 1 โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ช่วยแนะนำแนวทางการจัดการกิจกรรมของกลุ่มผู้เรียนโดยมี กลุ่มคาร์บอน กลุ่มไฮโดรเจน กลุ่มไนโตรเจน  กลุ่มออกซิเจน หัวหน้ากลุ่ม 4 กลุ่ม, เหรัญญิกกลุ่ม 4 กลุ่ม และผู้ประสานใจ 4 กลุ่ม รวม 12 ท่าน และผู้เรียนที่สนใจร่วมประชุมด้วยอย่างคับคั่ง