การเรียนหลักสูตร Wellness and Longevity for Entrepreneurs Program (WLE) รุ่นที่ 2 วันที่ 28 กันยายน 2567
Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld  ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

           ในวันที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 10.00-12.00 น.  หลักสูตร Wellness and Longevity for Entrepreneurs Program (WLE) รุ่นที่ 2 ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยู พลนิกร อาจารย์ประจำวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มาบรรยายในหัวข้อ “Immunity and Immunotherapy” ซึ่งท่านได้กล่าวถึง (1) ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิคุ้มกันและเซลล์ภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ช่วยปกป้องร่างกายของเราจาก “อันตราย” ทั้งจากการติดเชื้อที่เกิดจากความผิดปกติจากภายนอกร่างกายและจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย (2) การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบต่างๆ กลไกการอักเสบและวัคซีน กลไกการอักเสบเมื่อเกิดบาดแผล ขั้นแรกเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เกิดการกระตุ้นทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ส่งสัญญาน เรียกเซลล์กลุ่มเม็ดเลือดขาวมาต่อสู้กับเชื้อโรค ขั้นสองเมื่อร่ายการได้มีการสื่อสารไปหาเซลล์ตามร่างกายที่สามารถต่อต้านเชื้อโรคได้มาร่วมกันที่บาดแผลจะเกิดปฏิกิริยาและเกิดการอักเสบขึ้น ขั้นที่สามเกิดการซ่อมแซมและการฟื้นฟู เซลล์ภูมิคุ้มกันจะเข้ามาเคลียร์พื้นที่ที่เกิดบาดแผลและเซลล์ที่ตาย ร่างกายจะเกิดการกระตุ้นให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้น (3) ภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งและเทคโนโลยีด้านภูมิคุ้มกันบำบัด เมื่อมีการนำสารที่แปลกปลอมเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดการสร้าง Reactive Oxygen Species (ROS) ทำให้มีจำนวนมากขึ้นทำให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติและทำลาย DNA ของเซลล์เกิดการแตกหัก โดยทั่วไปจะมีกระบวนการซ่อมแซมให้กลับมาในสภาพเดิม แต่ในกรณีที่มีสารแปลกปลอมในร่างกายมากจะทำให้กระบวนการซ่อมแซมไม่สมบูรณ์เซลล์บางตัวที่ไม่สามารถกำจัดได้ทำให้เกิดการแบ่งตัวมากขึ้นจนทำให้เกิดเป็นเซลล์ผิดปกติเรียกว่ามะเร็ง 

          ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ และพันโท แพทย์หญิงรัชนี สาธรสันติกุล ผู้แทนกลุ่มคาร์บอน มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยู พลนิกร ณ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at Central World ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

          เวลา 14.00-15.00 น. ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง ผู้เชี่ยวชาญด้านเซลล์และยีนส์บำบัด หัวหน้าศูนย์ปลูกถ่ายไขกระดูกและเซลล์ต้นกำเนิด ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ “Advance in Cell Therapy and Gene Therapy and Advanced Therapy Medicinal Product (ATMP)” โดยท่านได้กล่าวถึง ยีนบำบัด (Gene Therapy) โดยมี CAR T-cell Therapy การแยกเม็ดเลือดขาวจากผู้ป่วยหรือผู้บริจาคและนำมาดัดแปลงพันธุกรรมเรียก T-cell การนำเข้าสู่เซลล์โดย  Viral Vectors ส่งผลให้มีการแสดงออกของตัวรับเฉพาะต่อเซลล์มะเร็งเป้าหมาย T-cell ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมเรียกว่า CAR T-cell มีแขนที่ยื่นออกมาจากเซลล์เพื่อใช้ในการจับเซลล์มะเร็งได้, Viral Vector Technology เป็นวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยอาศัยไวรัสตัวอื่นนำพาไวรัสก่อโรคเข้าไปสู่ร่างกายมนุษย์ เลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ กระตุ้นทำให้ร่างกายมนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคได้, CRISPR/Cas9 Technology เป็นระบบภูมิคุ้มกันของแบคทีเรียในการกำจัดสายดีเอ็นเอแปลกปลอม สามารถดัดแปลงลำดับของสายดีเอ็นเอในเซลล์สิ่งมีชีวิตตามที่ต้องการได้

          ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ และพันโท แพทย์หญิงรัชนี สาธรสันติกุล ผู้แทนกลุ่มคาร์บอน มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเดช หงส์อิง ณ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

 

          เวลา 15.30-17.30น. ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีรศักดิ์ เมืองไพศาล หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้เกียรติ มาบรรยายในหัวข้อ “Prevention and Care of Nervous System and Brain Disease”  โดยท่านได้กล่าวถึง ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (1) การทำความเข้าใจในผู้ป่วยในโรคสมองเสื่อม   การเปลี่ยนแปลงในภาวะสมองเสื่อม ความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น การใช้ภาษา ผิดไวยากรณ์ ฟังไม่เข้าใจ การทำกิจวัตรประจำวันการนอนไม่เป็นเวลา พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป หงุดหงิด ก้าวร้าว เศร้าหรือร่าเริงเกินไป โรคที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมและพบบ่อยคือ  อัลไซเมอร์ ถึง 60-70% บางท่านเกิดจากหลอดเลือดในสมอง การคุมโรคเบาหวานไม่คงที่และความดันไม่คงที่ (2) การป้องกันในผู้ป่วย แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการนำเลือดไปตรวจหาฮอร์โมนไทรอยด์มีการทำงานที่น้อยกว่าปกติ การขาดวิตามินบางตัว สายตาหรือการได้ยินลดน้อยลง เลือดคั่งในสมองจากอุบัติเหตุหรือการล้ม โพรงน้ำในสมองโตขึ้นทำให้การทรงตัวไม่ดี หรือติดเชื้อในระบบประสาท ปัจจัยเสื่องของหลอดเลือด (3) การดูแลรักษา การรำมวยจีนจะช่วยการทรงตัว กระตุ้นความจำ อาหารผักใบเขียว ธัญพืช ลดการกินอาหารนมเนยครีม ควรทานอาหารเมดิเตอเรเนียน การทำสมาธิในผู้สูงอายุจะช่วยป้องกันการถดถอยของความจำ ช่วยให้สมาธิจดจ่อ ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่อายุที่มากขึ้น พันธุกรรม หรือเนื้องอกของสมอง

         ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานกรรมการหลักสูตรฯ และพันโท แพทย์หญิงรัชนี สาธรสันติกุล ผู้แทนกลุ่มคาร์บอน มอบของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากร ศาสตราจารย์ นายแพทย์วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ณ Centara Grand & Bangkok Convention Centre at CentralWorld ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

 

          เวลา 17.45 – 18.30 น. การประชุมคณะกรรมการผู้เรียนหลักสูตร WLE รุ่นที่ 2 ครั้งที่ 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ ช่วยแนะนำแนวทางการจัดการกิจกรรม โดยมีแพทย์หญิงอารีย์ลักษ์ จินดาบรรเจิด หัวหน้ากลุ่มไฮโดรเจนและประธานรุ่นร่วมคณะกรรมการรุ่น ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม โดยมีคณะกรรมการผู้เรียนหลักสูตร WLE รุ่นที่ 2 รวม 11 ท่าน และผู้เรียนที่สนใจร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการจัดงานเลี้ยงขอบคุณผู้เรียนหลักสูตรWLE รุ่นที่ 1 และการจัดการเรื่องการเงินของรุ่น