ในปี 2564 ประเทศไทยได้รับรางวัล “The Winner” ระดับประเทศของ United Nations Public Service Awards หรือ UNPSA ในหัวข้อ “Intelligent Sustainable in Public Health Emergency System in Thailand” จากผลงานการสกัดกั้นและการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก (กรมควบคุมโรค, 2021) เป็นการแสดงถึงความสำเร็จของประเทศไทย ในการรับมือกับสถานการณ์ โควิด -19 ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากนั้น จากดัชนี Global COVID-19 Index (GCI) ปี 2563 ประเทศไทย ได้รับการจัด ให้เป็นอันดับ 1 ของโลก ในการฟื้นตัว-รับมือ จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก (ThaiPBS, 2020)
รางวัลเกียรติยศ ที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยอีกหนึ่งรางวัล คือ การเป็นประเทศที่มี Global Health Security Index (GHS) เป็นอันดับที่ 5 ของโลก จากทั้งหมด 195 ประเทศ จากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ปี 2562 โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดในประเด็นของการป้องกันการแพร่ระบาด การตรวจและติดตามดูแลผู้ป่วย การรับมือต่อการแพร่ระบาด ตลอดจนระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานตามหลักสากล (ThaiGov, 2021)
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องพิสูจน์ ยืนยันถึงศักยภาพ ประสิทธิภาพ และ ความเป็นเลิศ ของระบบสาธารณสุขไทย ที่เราคนไทยทุกคน ควรร่วมภาคภูมิใจ ทำให้วันนี้ ประเทศไทยของเรามีความพร้อม ที่จะประกาศจุดมุ่งหมายแห่งการเป็น “Global Destination for Wellness and Healthcare” โดยพร้อมให้การต้อนรับ ที่แสนอบอุ่น แก่เพื่อน พี่น้อง ทุกชาติ ที่มาเยือน
หลักสูตร Wellness & Healthcare Business Opportunity Program for Executives รุ่นที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้น การสร้างความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ ทางการให้บริการด้านสุขภาพเชิงรุกและ การแพทย์ของไทย จึงเป็นที่มาของการนำเสนอกลยุทธ์ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ระดับโลก : Global Destination for Wellness and Healthcare
จากอดีต ปัจจุบันและอนาคต เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีนโยบายขับเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจสุขภาพและสุขภาวะที่ยึดมั่นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยปัจจัยเหตุที่เอื้อ ดังนี้
- มีรัฐบาลที่ขับเคลื่อนนโยบาย Medical Hub อย่างต่อเนื่อง
- มีภาคเอกชนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงและมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า
- มีสถาบันการศึกษาและภาคส่วนทางสังคมที่สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นวัตกรรม และสังคมฐานความรู้เป็นต้นทุนการพัฒนา
ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยมีภาคประชาชนที่เข้มแข็ง เพราะ “คนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีความสามารถและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรางวัล ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) มอบให้กับ สสส. ในปี 2564 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ที่ผสมผสานอยู่ใน ภูมิทรัพยากร ดิน น้ำ อาหาร อากาศ และ“คนไทย” ที่พร้อมจะร่วมกันเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่พึ่งได้ (ThaiHealth, 2021)
จากผลการสำรวจ Visa Global Travel Intention Study – 2022 จัดอันดับให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวลำดับที่ 4 ที่น่าเดินทางไปเยือนมากที่สุดในโลก หลังโควิด-19 สิ้นสุดลง (TAT, 2022) ด้วยต้นทุนที่ดีเลิศทางการท่องเที่ยวของประเทศไทยทำให้สามารถสร้างแรงดึงดูด ให้ผู้คนทุกเชื้อชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย ด้วยปรารถนาการมีสุขภาวะที่ดี เสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำให้ Wellness กลายเป็นอุตสาหกรรมสุขภาพศักยภาพสูงที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงอาจกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจสุขภาพฐาน Wellness ของประเทศไทย จะเป็นระบบเศรษฐกิจฐานใหม่ ที่ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก และสามารถพัฒนาสังคมสุขภาวะของประเทศไทยให้เติบโตไปพร้อมกัน
Wellness แบบไทย คือ Wellness ที่ส่งให้ผลดีต่อสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีมากไปกว่าเพียงแค่ทางกาย ทางความคิด หรือทางจิตวิญญาณ สิ่งนี้คือ Wellness แบบไทย อันเป็นอัตลักษณ์ที่แตกต่างไม่เหมือนกับสถานที่ใดในโลก ทำให้การเป็น Wellness Destination นั้นสามารถบ่งบอกออกมาเป็นรูปธรรมที่อธิบายได้ในตัวเอง จึงกล่าวได้ว่า “Wellness คือ Thailand DNA” ด้วยบุคลิกลักษณะ อัธยาศัยและจิตวิญญาณ ของความเป็นไทย จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง Brand “Thailand Unique Wellness” ให้คนทั่วโลกได้มาสัมผัส โดยมีการมองถึงการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการใน Ecosystem ซึ่งนำไปสู่การเตรียมโครงสร้าง digital พื้นฐานเพื่อสร้างความสะดวกสบาย รู้สึกปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ นอกจากนี้ หากมีการจัดทำนโยบายรองรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยแบบคุณภาพ เริ่มต้นจากกลุ่มสตรี หรือการมุ่งเน้นในการเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาจิตอย่างแท้จริง ย่อมเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็น Wellness แบบไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรากฐานมาจากการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจฐานใหม่อย่างยั่งยืน
กลุ่มแคลเซียม
กลุ่มโครเมียม
กลุ่มไอร์ออน
กลุ่มแมกนีเซียม
กลุ่มซีลีเนียม
กลุ่มซิงค์
หากประเทศไทยสามารถพัฒนากลยุทธ์หลักทั้ง 6 ด้านในองค์รวม โดยผนวกเข้ากับศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานของระบบสาธารณสุขไทย พร้อมทั้งวิถีแห่งความเป็นไทย ความมุ่งหมายในการเป็น “Global Destination for Wellness and Healthcare” จะสามารถเกิดขึ้นได้ในอีกไม่นาน